วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

มะเขือเปราะ


มะเขือเปราะ ลักษณะโดยทั่วไปเป็นพืชผักที่มีอายุยืน สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
การเพาะกล้ามะเขือเปราะ (egg plant, Chionathus parkinonii)
ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพราะกล้า
ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม.
นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด
กลบดินผิวหน้าเมล็ดมะเขือเปราะแล้วรดน้ำ และควรป้องกันมดมาคาบเมล็ดไปากถาดพลาสติกเพาะกล้า โดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นล้อมถาดเพาะไว้
หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถาง หรือในแปลงปลูก
การเตรียมในแปลง มะเขือเปราะ (egg plant, Chionathus parkinonii) หรือในกระถาง
ถ้าปลูกมะเขือเปราะในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดินหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง
ในกรณีปลูกมะเขือเปราะในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1
การดูแลรักษา มะเขือเปราะ (egg plant, Chionathus parkinonii)
ย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในแปลง หรือในกระถาง
รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1 ส่วน 4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3 ซม. และรดน้ำทันที
ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1 ส่วน 4 ช้อนชา ทุกๆ 15 วัน
หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้
หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะ เจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่ง และบำรุงต้นมะเขือเปราะ เช่นนี้ ทุกๆ 2-3 เดือน

เพลงพื้นบ้านที่ใช้กล่อมเด็กๆ พูดถึงมะเขือเปราะดังนี้"จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น พายเรืออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม สาวๆ หนุ่มๆ อาบน้ำท่าไหน อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด เอากระจกที่ไหนส่อง เยี่ยมๆ มองๆ นกขุนทองร้องฮู้"Ž มะเขือเปราะ (Yellow berried nightshade หรือ Kantakari ในประเทศอินเดีย) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum xanthocarpum Schrad. & Wendl.วงศ์ Solanaceae มะเขือเปราะเป็นพืชผักที่กินผล มีชื่อเรียกอื่นๆ ดังนี้ มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง) มะเขือขันคำ มะเขือคางกบ มะเขือดำ มะเขือแจ้ มะเขือจาน มะเขือแจ้ดิน (เหนือ) เขือพา เขือหิน (ใต้) มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะเขือหืน (ภาคอีสาน)ต้นมะเขือเปราะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 2-4 ฟุต มีอายุอยู่ได้หลายฤดูกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียใบมีขนาดใหญ่ เรียงตัวแบบสลับ ดอกมีขนาดใหญ่ สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยวผลมีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข่ อาจมีสีขาว เขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลเมื่อแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่นประเทศไทยเราจะกินผลสีเขียวเป็นอาหาร ทั้งกินดิบจิ้มน้ำพริก ใส่แกงป่า แกงเผ็ด และอื่นๆ แต่ที่อินเดียใช้ผลเป็นยา ส่วนทวีปอื่นๆ เลือกกินมะเขือยาวหรือมะเขือม่วงเป็นอาหารมากกว่ามะเขือเปราะขอเสนอคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาวปรุงสุก 1 ถ้วย (100 กรัม) เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกันข้อมูลโภชนาการใกล้เคียงกัน การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ ประชากรในแคว้นโอริสสา ของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือดผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไองานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide) การทดสอบเพิ่มเติมพบว่า สารสกัดดังกล่าวออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลองแต่อย่างใดบรรพบุรุษไทยในแดนสุวรรณภูมิฉลาดมากที่เลือกเอามะเขือเปราะมาใส่แกงป่าเป็นอาหาร ปราศจากคอเลสเตอรอล ลดมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และเสริมสร้างสุขภาพ เส้นทางสายกรุงเทพฯ - สุพรรณบุรีมีร้านแกงป่าสารพัดอย่างอยู่ริมถนน ลองแวะชิมผลงานภูมิปัญญาไทยเพื่อสุขภาพดูบ้างนะคะ